เมนู

บนเตียง อันเป็นกัปปิยะ การก้าวล่วง ชื่อว่า ปริญญา ในบทว่า กามานํ
ปริญฺญํ ปญฺญาเปติ
นี้ เพราะฉะนั้น ศาสดาบางพวก จึงบัญญัติการ
ก้าวล่วงกามทั้งหลายว่า เป็นปฐมฌาน. บทว่า น รูปานํ ปริญฺญํ ความว่า
ไม่บัญญัติธรรมที่เป็นเหตุก้าวล่วงรูปว่า เป็นอรูปาวจรสมาบัติ. บทว่า
น เวทนานํ ปริญฺญํ ความว่า ไม่บัญญัติการก้าวล่วงเวทนาว่า เป็นนิพพาน
คติ คือความสำเร็จ ชื่อว่า นิฏฺฐา. บทว่า อุทาหุ ปุถุ ความว่า หรือ
ต่างกัน.
จบอรรถกถาภรัณฑุสูตรที่ 4

5. หัตถกสูตร



ว่าด้วยหัตถกเทพบุตรไม่อิ่มธรรม 3 อย่าง



[567] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคฤหบดี ใกล้กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นเทวบุตรชื่อ
หัตถกะ เมื่อราตรีล่วง (ปฐมยาม) แล้ว มีผิวพรรณงดงาม (เปล่งรัศมี)
ทำให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปถึงที่
ประทับแล้ว หมายใจว่าจักยืนเฝ้าต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ตัวย่อม
จมลงและจมลง ไม่ดำรงอยู่ได้ เปรียบเหมือนเนยใสหรือน้ำมัน ที่คนราดลง
บนทราย ย่อมซึมหายไปภายใต้ไม่ค้างอยู่ฉันใด หัตถกเทวบุตรหมายใจว่า
จักยืนเฝ้าต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ตัวย่อมจมลงและจมลง ไม่ดำรง
อยู่ได้ฉันนั้น

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะหัตถกเทวบุตรว่า หัตถกะ
ท่านจงนิรมิตตัวให้หยาบ
หัตถกเทวบุตรรับพระพุทธพจน์แล้วนิรมิตตัวให้หยาบ ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคเจ้า ยืนเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถามว่า หัตถกะ ธรรมเหล่าใดที่ท่านเคย
ประพฤติเมื่อครั้งท่านเป็นมนุษย์ ธรรมเหล่านั้น บัดนี้ท่านยังประพฤติอยู่หรือ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมเหล่าใด ที่ข้าพระพุทธเจ้าเคยประพฤติ
เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ธรรมเหล่านั้น บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้ายังประพฤติอยู่
และยังประพฤติธรรมที่ไม่เคยประพฤติเมื่อครั้งเป็นมนุษย์อีกด้วย เดี๋ยวนี้ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า อาเกียรณ์อยู่ ด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา
ราชมหาอำมาตย์ เดียรถีย์ สาวกเดียรถีย์ ฉันใด ข้าพระพุทธเจ้าก็อาเกียรณ์
อยู่ด้วยเทวบุตรทั้งหลาย ฉันนั้น เทวบุตรทั้งหลายมาแม้ไกล ๆ ตั้งใจจัก
ฟังธรรมในสำนักหัตถกเทวบุตร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ายังไม่อิ่ม
ยังไม่เบื่อธรรม 3 อย่าง ก็ทำกาละแล้ว ธรรม 3 อย่างคืออะไร คือ การเห็น
พระผู้มีพระภาคเจ้า การฟังพระสัทธรรม การอุปัฏฐากพระสงฆ์
ข้าพระพุทธเจ้ายังไม่อิ่มไม่เบื่อธรรม 3 อย่างนี้แล ได้ทำกาละแล้ว.
แน่ละ ความอิ่มต่อการเห็นพระผู้มี-
พระภาคเจ้า การอุปัฏฐากพระสงฆ์ และ
การฟังพระสัทธรรม จักมี ในกาลไหนๆ
หัตถกอุบาสก ผู้รักษาอธิศีล ยินดีใน
การฟังพระสัทธรรมไม่ทันอิ่มธรรม 3
ประการ ก็ไปอวิหาพรหมโลกแล้ว.

จบหัตถกสูตรที่ 5

อรรถกถาหัตถกสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในหัตถกสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้:-
อภิกฺกนฺต ศัพท์ ในบทว่า อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา นี้ ปรากฏ
ในความว่า สิ้นไป ดี รูปงาม และน่าอนุโมทนายิ่ง เป็นต้น. ในอรรถ 4
อย่างนั้น อภิกฺกนฺต ศัพท์ ปรากฏในความสิ้นไป เช่นในประโยคทั้งหลาย
มีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีสิ้นไปแล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว
ภิกษุสงฆ์นั่งอยู่นานแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรง
แสดงปาฏิโมกข์ แก่ภิกษุทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า. ปรากฏในความว่าดี เช่นใน
ประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ผู้นี้ทั้งงาม ทั้งประณีตกว่าบุคคล 4 จำพวกเหล่านี้.
ปรากฏ ในความว่า รูปงาม เช่นในประโยคทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า
ใครรุ่งโรจน์อยู่ด้วยฤทธิ์ ด้วยยศ มี
ผิวพรรณงามยิ่งนัก ยังทิศทั้งปวงให้สว่าง-
ไสว ไหว้เท้าทั้งสองของเราอยู่ ดังนี้.

ปรากฏ ในความว่า อนุโมทนาอย่างยิ่ง เช่นในประโยคทั้งหลาย
มีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอนุโมทนายิ่งนัก. แต่ในบทว่า
อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา นี้ อภิกฺกนฺต ศัพท์ ปรากฏในความดี. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวขยายความไว้ว่า บทว่า อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา ความว่า
ในราตรีที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ. อภิกฺกนฺตาย ศัพท์ ในบทว่า
อภิกฺกนฺตวณฺณา นี้ ปรากฏในความว่า รูปงาม.
ส่วน วณฺณ ศัพท์ ปรากฏใน ฉวิ (ผิวพรรณ) ถุติ (การชมเชย)
กุลวรรค (ชนชั้น) การณะ (เหตุ) สัณฐาน (รูปร่าง) ปมาณ (ขนาด)